วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2551

IBM พัฒนาชิพหล่อเย็น สถาปัตยกรรมใหม่ชีพียูจิ๋ว

ชิพรุ่นใหม่ของไอบีเอ็ม เดินท่อน้ำบางเท่าเส้นผมระบายร้อน วิศวกรไอบีเอ็มทำระบบหล่อเย็น เดินท่อน้ำบางเท่าเส้นผมไหลเวียนในชิพช่วยระบายความร้อนพลังชีพียูชะงัด กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ปัญหาหนักอกของผู้ผลิตชิพคอมพิวเตอร์ตลอดประวัติศาสตร์นับตั้งแต่คลอดชิพ ตัวแรกของโลกออกมาคือ ความร้อน เนื่องจากหัวใจสำคัญของชิพคือ ทรานซิสเตอร์จำนวนหลายล้านตัวที่อัดแน่นกันอยู่ข้างใน และยังมีวงจรไฟฟ้าที่ซ่อนอยู่ในชิพด้วย จึงไม่ใช่ที่ใช่ทางที่ใครจะเอาน้ำไปเท แต่วิศวกรของไอบีเอ็มไม่คิดอย่างนั้น พวกเขาเชื่อว่า ถ้าหาทางทำให้ชิพมีท่อน้ำขนาดเส้นผมหล่ออยู่ข้างในจะช่วยแก้ปัญหาให้แก่ คอมพิวเตอร์ในอนาคตได้ ทุกวันนี้ชิพคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงมาก ด้วยเทคโนโลยีบีบทรานซิสเตอร์ให้เล็กลง ยิ่งมีทรานซิสเตอร์มากเท่าไร ความเร็วในการประมวลผลยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งมีทรานซิสเตอร์อัดแน่นกันมากเท่าไร ยิ่งร้อนง่ายขึ้นเช่นกัน ความร้อนเหล่านี้จะถ่ายเทออกมาจากวงจรเล็กๆ และยากจะควบคุมให้เย็นได้ง่าย เพราะเหตุนี้จึงจำเป็นต้องใช้พัดลมระบาย ความร้อนให้ซีพียู ไม่อย่างนั้นชิพไหม้เป็นตอตะโก หากลองเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ดูจะเห็นพัดลมขนาดใหญ่ และครีบอะลูมิเนียม หรือทองแดง ที่ศัพท์เรียกว่า “ฮีตซิงก์” ตั้งอยู่บนซีพียู ทำหน้าที่ระบายความร้อนออกไป ถ้าเป็นซีพียูขนาดใหญ่ก็ใช้ได้ดี แต่ไม่เหมาะกับซีพียูขนาดเล็กในปัจจุบัน

ความจริงไอบีเอ็มได้ลองออกแบบโปรเซสเซอร์ รุ่นอนาคต โดยจัดวางชิพซ้อนเป็นแนวตั้ง เพื่อประหยัดพื้นที่และเพิ่มประสิทธิภาพ แทนที่จะวางเรียงเป็นแผงต่อกัน ผลที่ได้คือ อัตราส่วนความร้อนต่อปริมาตรสูงกว่าความร้อนจากเตาปฏิกรณ์ปรมาณูเสียอีก นักวิจัยไอบีเอ็มจึงหาทางแก้โดยออกแบบท่อ ขนาดเล็กประกบอยู่ระหว่างซีพียูที่ซ้อนกันอยู่ เทคนิคดังกล่าวไอบีเอ็มใช้ท่อขนาด 50 ไมครอน (50 ส่วนล้านเมตร) ซึ่งเล็กมากและหุ้มกันรั่ว และช็อตผนึกอยู่ข้างใน ถึงท่อจะเล็กมากแต่ประสิทธิภาพระบายความ ร้อนไม่เล็กเลย เนื่องจากน้ำมีคุณสมบัติดูดซับความร้อนได้ดีกว่าอากาศ และด้วยเหตุผลนี้เอง คอมพิวเตอร์ระดับสูงจึงต้องใช้น้ำระบายความร้อน และไอบีเอ็มตั้งใจใช้เทคนิคใหม่นี้กับซีพียูรุ่นจิ๋ว นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีจอร์เจียให้ความ เห็นว่า วิธีระบายความร้อนของไอบีเอ็มเคยมีนักวิจัยทดลองทำแล้ว แต่ไอบีเอ็มสามารถทำให้ใช้งานจริงในเชิงผลิตภัณฑ์ได้ อย่างไรก็ตาม ผลงานล้ำเลิศของไอบีเอ็มนี้ยังวิจัยอยู่ในห้องแล็บเหมือนกัน และคาดว่าอย่างน้อยอีก 5 ปี คงออกมาสู่ตลาด


บทความจาก : IT City

วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ระวังไฟล์ Flash แพร่ไวรัส


ศูนย์วิจัย PandaLabs เตือนให้ระวังช่องโหว่ใน Adobe Flash ซึ่งกำลังถูกนำมาใช้ในการแพร่กระจายมัลแวร์ เหล่า อาชญากรกำลังใช้ไฟล์ .swf ( ไฟล์ Flash) ที่จัดทำขึ้นในการเจาะช่องโหว่ที่เพิ่งค้นพบใน Adobe Flash ในสองลักษณะ กล่าวคือ เมื่อผู้ใช้เข้าสู่หน้าเว็บที่มีไฟล์ดัดแปลงเหล่านี้ เบราว์เซอร์จะแปลโค้ดในไฟล์เป็นคำสั่งดาวน์โหลดมัลแวร์หรือในอีกลักษณะหนึ่ง โค้ดในไฟล์ Flash จะเปลี่ยนเส้นทางผู้ใช้ ( ในเบื้องหลัง ) ไปยังหน้าเว็บที่ออกแบบขึ้นเพื่อโจมตีระบบและปล่อยมัลแวร์
ผู้จัดทำไฟล์ดังกล่าวได้ออกแบบโค้ดให้ส่งผลกระทบต่อ เบราว์เซอร์ต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจ PandaLabs ตรวจพบการปล่อยโทรจัน Wow.UB แล้วด้วยวิธีการนี้ และการแพร่ระบาดอาจเพิ่มปริมาณขึ้นในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า ไฟล์ Flash ที่จัดทำขึ้นโดยมุ่งร้ายนี้อาจมาในรูปของภาพเคลื่อนไหวเล็กๆ ที่ผู้ใช้ต้องสั่งรันหรืออาจเป็นภาพนิ่งที่จะโหลดเข้าสู่คอมพิวเตอร์โดยตรง เมื่อเปิดหน้าเว็บ การที่หน้าเว็บดูเหมือนไม่มีสิ่งผิดปกติใดๆ ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถทราบได้ถึงการติดเชื้อดังกล่าว ด้วยเหตุที่ช่องโหว่ดังกล่าวอาจถูกเจาะได้โดยไม่จำกัดเบราว์เซอร์ที่ใช้ ผู้ใช้จำนวนมากจึงมีโอกาสที่จะติดเชื้อ

ไต้หวันเตรียมใช้ Wi-Max

ไทเป 8 มิ.ย. – ทางการไต้หวันหันมาสนับสนุนเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายระบบไวแมกซ์ (WiMAX) พร้อมจัดทำแผนสนับสนุนด้านการเงินจูงใจเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน รายงานระบุว่า เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายระบบไวแมกซ์เป็นระบบสื่อสารใหม่ที่สามารถส่งข้อมูลที่มีความจุสูงในระยะทางที่ไกลขึ้น โดยสามารถรองรับได้ทั้งข้อมูลเสียง วิดีโอ อินเตอร์เน็ต และบริการผ่านระบบไร้สายอื่น ซึ่งหนึ่งในผู้ประกอบการเทคโนโลยีสื่อสารระบุว่า ผู้ใช้บริการระบบไวแมกซ์จะสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ รวมทั้งการวินิจฉัยโรคทางไกลได้ตลอดเวลาในทุกสถานที่ โดยมีค่าใช้จ่ายเดือนละ 800 ดอลลาร์ไต้หวัน (ราว 873 บาท)

แม้ระบบไวแมกซ์มีกระบวนการคล้ายระบบสื่อสารไวไฟ (WiFI) แต่ระบบไวแมกซ์มีจุดเด่นที่มีขนาดช่องสัญญาณมากกว่า สามารถส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที เทียบกับเทคโนโลยีเครือข่าย 3 จีในปัจจุบันซึ่งมีขนาดเพียง 7 เมกะบิต โดยผู้ประกอบการระบุว่า แม้ในขณะนี้จะยังคงให้บริการช่องสัญญาณได้ประมาณ 20 เมกะบิต แต่นั่นก็เพียงพอแล้วสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ความละเอียดสูงอย่างต่อเนื่อง ด้านรายงานระบุด้วยว่า ทางการไต้หวันได้สนับสนุนให้เอกชนหันมาใช้ระบบไวแมกซ์ โดยบริษัทที่เข้าร่วมในโครงการศึกษาทดลองและพัฒนาระบบไวแมกซ์จะได้รับงบประมาณสนับสนุนกึ่งหนึ่งของต้นทุน อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนเทคโนโลยีไร้สายจากระบบ 3 จีสู่ระบบไวแมกซ์อาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการท้องถิ่นซึ่งต้องโละอุปกรณ์ 3 จีอันมีราคาแพง ขณะเดียวกันกลุ่มอนุรักษ์ก็ออกมาวิจารณ์คลื่นความถี่สูงจากระบบไวแมกซ์และเครื่องถ่ายทอดสัญญาณอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ.

ที่มาจาก - สำนักข่าวไทย

IBM ลุยพัฒนาระบบโหลดหนังใน 1 วินาที

ฮือฮาเมื่อไอบีเอ็มประกาศว่ากำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายข้อมูลความเร็วสูง เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถดาวน์โหลดภาพยนตร์คุณภาพสูงทางอินเทอร์เน็ตภายในเวลา 1 วินาที เชื่อว่าหากเทคโนโลยีนี้ลงตลาดเมื่อไร แผ่นภาพยนตร์ดีวีดีหรือฟอร์แม็ตใหม่อย่างบลูเรย์ (Blu-ray) อาจหมดอนาคตไม่ได้แจ้งเกิดในตลาดบันเทิงที่มีมูลค่าหลายหมื่นล้านสหรัฐ
เทคโนโลยีดังกล่าวได้ชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า “green optical link” โดยคลินท์ สโคว์ (Clint Schow) นักวิจัยของไอบีเอ็มให้ข้อมูลว่าเบื้องหลังความสำเร็จของเทคโนโลยีนี้คือการใช้โฟตรอนของแสงในการส่งข้อมูล แทนการใช้อิเล็กตรอนเช่นปกติ ซึ่งจากการทดสอบ เครือข่ายข้อมูลเทคโนโลยีนี้สามารถส่งถ่ายข้อมูลขนาด 8 ล้านล้านบิตในเวลา 1 วินาที ใช้พลังงานเพียง 100 วัตต์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 1 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณพลังงานมาตรฐานที่ใช้ในการเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้า
นอกเหนือจากการพัฒนาเทคโนโลยี สโคว์ระบุว่าขณะนี้ไอบีเอ็มก้าวเข้าสู่ช่วงการหาทางทำตลาดเทคโนโลยีนี้แล้ว และเชื่อว่าจะสามารถปฏิวัติวงการคอนเทนท์ไฮ-เดฟ (high-def) หรือไฟล์มัลติมีเดียคุณภาพสูง สโคว์ยกตัวอย่างว่า เว็บไซต์ผู้ให้บริการดาวน์โหลดภาพยนตร์จะสามารถใช้เทคโนโลยีเครือข่ายนี้เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงคลังภาพยนตร์คุณภาพสูงซึ่งมีอยู่หลายล้านเรื่องได้ในเวลาไม่กี่วินาที ขณะเดียวกัน ผู้จำหน่ายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กจะสามารถทำรายได้จากการจำหน่ายพอร์ทข้อมูลเทคโนโลยี green optical link เพื่อให้ผู้บริโภคดาวน์โหลดข้อมูลความเร็วสูงอย่างสะดวกสบาย ที่สำคัญ เทคโนโลยีนี้สามารถนำไปใช้ร่วมกับโทรศัพท์มือถือและพีดีเอ ซึ่งจะเปลี่ยนโฉมให้อุปกรณ์เหล่านี้กลายเป็นเครื่องเล่นตระกูลไฮ-เดฟในพริบตา
เพื่อให้เทคโนโลยี green optical link พร้อมทำการตลาดในวงกว้าง ไอบีเอ็มจึงพัฒนาวงจรพิเศษสำหรับดัดแปลงให้อุปกรณ์ต่างๆสามารถรองรับเทคโนโลยีการส่งถ่ายข้อมูลความเร็วสูงนี้ได้ วงจรดังกล่าวใช้ชื่อเรียกว่า Optocard เพื่อสร้างสัญญาณแสงระหว่างฝั่งส่งและฝั่งรับข้อมูล ไอบีเอ็มระบุว่า ความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายข้อมูลความเร็วสูงพิเศษนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยซึ่งได้ทุนวิจัยจากสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาหรือ Defense Advanced Research Projects Agency (DARPA)

ข่าวจาก :Manager Online

วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Windows 7 อัพเดตล่าสุดจากงาน D6

รายงานข่าวล่าสุดเกี่ยวกับความคืบหน้าของ Windows 7 ซึ่งในงาน D6 บิลเกตส์ และสตีฟ บอลเมอร์ สองผู้ยิ่งใหญ่แห่งไมโครซอฟท์ได้เดินทางมาแนะนำ OS ตัวใหม่ที่จะมาแทน Vista เพื่อให้นักพัฒนาได้เห็นแนวทางของการสร้างซอฟต์แวร์ในอนาคต
สำหรับคุณสมบัติใหม่บน Windows 7 จะเป็นการเพิ่มความสามารถของฟังก์ชันมัลติทัชเข้าไป โดยทีมพัฒนา Surface (โต๊ะกาแฟคอมพิวเตอร์ระบบสัมผัส) ซึ่งทำให้เดสก์ทอปของโอเอสตัวใหม่ สามารถทำงานได้ด้วยระบบสัมผัสที่เหนือชั้น
ในส่วนของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการสาธิตจะเป็นแท็บเล็ต Dell Latitude XT โดยบอลเมอร์บอกว่า การสาธิตทีนำมาแสดงให้เห็นในวันนี้เป็นแค่น้ำจิ้มของ Windows 7 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม นักพัฒนาบางส่วนรู้สึกว่า มันเร็วเกินไปที่พวกเขาจะต้องมาเรียนรู้การพัฒนาซอฟต์แวร์กันให ม่อีกแล้ว แถมยังมีความซับซ้อนมากกว่าเดิมอีกด้วย การแย้มพราย Windows 7 ให้ได้เห็นกันในวันนี้ ทำให้หลายฝ่ายวิเคราะห์ว่า ไมโครซอฟท์คงตั้งใจจะเปลี่ยนอินเตอร์เฟสของระบบปฏิบัติการอย่าง สิ้นเชิง โดยใช้กลไกของระบบมัลติทัชเป็นหัวใจสำคัญ



บทความจาก http://www.i-why.net/wordpress/windows-7-update-d6/

กระดาษชนิดใหม่ทนกว่าเหล็กหล่อ

นักวิจัยสวีเดนและญี่ปุ่น ได้พัฒนากระดาษชนิดที่ทนการฉีกขาด ซึ่งทนกว่าเหล็กหล่อ โดยวัสดุใหม่นี้ใช้ชื่อว่า cellulose nanopaper สร้างจากอนุภาคที่เล็กกว่ากล้องจุลทรรศน์ของเซลลูโลส ซึ่งนี้อาจนำไปสู่การประยุกต์ใช้กระดาษเพื่อสร้างวัสดุอื่น ๆ รายงานนี้ได้ตีพิมพ์ลงวารสาร ACS’ Biomacromolecules
ในการศึกษาครั้งนี้ นักวิจัยได้ใช้เซลลูโลสซึ่งได้มาจากพืช โดยมีคุณสมบัติแข็งแรง น้ำหนักเบาเมื่อเทียบกับวัสดุอื่น ๆ ซึ่งเมื่อนำเซลลูโลสมาเป็นส่วนประกอบแล้วจะได้วัตถุที่แข็งแรงกว่าวัตถุที่เคยมีมา
แต่วัสดุที่มีส่วนผสมเซลลูโลสมักมีอาการแตกง่ายเมื่อมีความตึงเครียด วิธีแก้ปัญหาของงานนี้คือการส่วนผสมของสารเคมีในการสร้างกระดาษ กระดาษนาโนนี้ต้องผ่านสารเคมีบางอย่างจึงทำให้เกิดความแข็งแกร่งมากกว่าเหล็กได้